เกณฑ์ด้านอาหารปลอดภัย ( ๖ ข้อ ) ดาวโหลดที่นี่
อาหารที่วางจำหน่ายอยู่ภายในตลาด ต้องผ่านการตรวจหาสารปนเปื้อน ๖ ชนิด ซึ่งต้องตรวจไม่พบสารปนเปื้อน หรือพบแต่ไม่เกินกว่าค่ามาตรฐานที่กำหมายกำหนดไว้ การตรวจสอบ โดยวิธีการใช้ชุดทดสอบอย่างง่าย ( หรือเรียกว่า Test kit ) หรือส่งตัวอย่างตรวจทางห้องปฏิบัติการ(Laboratory)สารปนเปื้อน ๖ ชนิด ได้แก่
๑. สารบอแรกซ์ ในอาหารจำพวก เนื้อสัตว์และเนื้อสัตว์แปรรูป เช่น ลุกชิ้น ไส้กรอก คอกเทล ฮอทดอก รวมถึง ลอดช่อง ทับทิมกรอบ เป็นต้น
๒. สารฟอร์มาลีน ในอาหารจำพวกอาหารทะเลสด และผักสด
๓. สารกันรา (กรอซาลิซิลิค) ในอาหารจำพวกผักและผลไม้ดอง
๔. สารฟอกขาว ในอาหารจำพวกถั่วงอก ขิงซอย น้ำตาลมะพร้าว หรือน้ำตาบปี๊บ เป็นต้น
*๕. ยาฆ่าแมลง ในอาหารจำพกผักและผลไม้สด
*๖. สารเร่งเนื้อแดง
** ๕ และ ๖ ( ส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ )
เกณฑ์ด้านคุ้มครองผู้บริโภค ( ๔ ข้อ )
๑.มีบอร์ดประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสาร ความรู้แก่ผู้ประกอบการและผู้บริโภค หรือมีระบบเสียงตามสายของตลาด
๒.มีจุดทดสอบสารปนเปื้อนที่เป็นอันตราย ๕ ชนิด และมีเจ้าหน้าที่ประจำ
๓.มีเครื่องชั่งกลางที่ได้มาตรฐานไว้ให้บริการกับผู้บริโภค อย่างน้อย ๑ จุด และมีป้ายบอกอย่างชัดเจน
๔.มีการติดป้ายบอก หรือแสดงราคาสินค้าที่วางจำหน่ายในแต่ละรายการ
“ ผู้บริโภค ต้องรักษาสิทธิ ผู้ผลิต ต้องรักษาคุณภาพและมาตรฐาน ”
เกณฑ์ด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม (๔๐ข้อ )
๑.ด้านสุขลักษณะทั่วไป
– ตลาดต้องมีโครงสร้างอาคารที่มั่นคง แข็งแรง สะอาด ถูกสุขลักษณะ การจัดวางจำหน่ายสินค้าเป็นหมวดหมู่และแยกตามประเภทของสินค้า มีแสงสว่างที่เพียงพอ และมีการระบายอากาศที่ดี ไม่อับชื้นและไม่ร้อนอบอ้าว
๒.ด้านการจัดการมูลฝอย
– มีการคัดแยกประเภทของมูลฝอย มีที่รองรับมูลฝอยที่ถูกสุขลักษณะ
๓.ด้านการจัดหาน้ำดื่นน้ำใช้
– มีน้ำดื่นและน้ำประปาที่สะอาดและเพียงพอไว้ให้บริการ
๔.ด้านการจัดการน้ำเสีย
– ภายในตลาดไม่มีน้ำท่วมขัง รางระบายน้ำภายในตลาดมีลักษณะเป็นรางรูปตัวยูและเป็นรางเปิด ไม่อุดตัน สามารถระบายน้ำได้ดี มีที่ดักเศษมูลฝอยและมีบ่อดักไขมันที่สามารถใช้งานได้ ให้บริการ
๕.ด้านการจัดการสิ่งปฏิกูล
– ต้องมีห้องส้วมแยกเพศ ( ชาย-หญิง ) ภายในสะอาด ไม่มีกลิ่นเหม็น มีการระบายอากาศที่ดี และอุปกรณ์ที่ใช้งานภายในห้องส้วมไม่ชำรุด มีน้ำใช้เพียงพอและตลอดระยะเวลาที่เปิดใช้งาน มีสบู่ล้างมือ และมีกระดาษชำระไว้ให้บริการ หรือจัดให้มีจุดให้ซื้อได้ ตลอดจนภายในห้องส้อมต้องมีภาชนะรองรับมูลฝอยที่ถูกสุขลักษณะไว้ให้ทิ้งมูลฝอย มีแสงสว่างที่เหมาะสม และมีผู้รับผิดชอบดูแลรักษาความสะอาด ตามที่ระบุไว้ในเกณฑ์มาตรฐานส้วมสาธารณะ ( HAS )
๖.ด้านการป้องกัน ควบคุมสัตว์และแมลงพาหะนำโรค
– มีแผนการควบคุมและปฏิบัติตามแผนการควบคุมแมลงและสัตว์พาหะนำโรค อย่างสม่ำเสมอ
๗.ด้านการบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อม
– จัดให้มีผู้รับผิดชอบดูแลรักษาความสะอาด ความเป็นระเบียบเรียบร้อยภายในตลาด และต้องจัดให้มีการล้างตลาดตามหลักการสุขาภิบาลเป็นเป็นประจำ อย่างน้อยเดือนละ ๒ ครั้ง